วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

การแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก

การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ  “NAYOONG Model
การแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบผลสำเร็จ  โดยใช้รูปแบบ  NAYOONG Model
ที่โรงเรียนบ้านนายูง สพป.อด.คิดรูปแบบขึ้น มีดังนี้
รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่สรุปได้ทั้ง   7  ประเด็น ซึ่งประกอบด้วย  สำรวจวิเคราะห์ปัญหา  สร้างเครือข่าย  วางแผน  ระดมทรัพยากร ปฏิบัติตามแผน ตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไข  มาผนวกกับหลักการบริหาร   ที่ได้ศึกษามา เพื่อสร้างเป็นรูปแบบศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้โรงเรียนขนาดเล็กแบบรวมชั้น (NAYOONG Model) ซึ่งมีรายละเอียด  ดังนี้
N  :  New   ( ใหม่ )
A  :  Application   ( การประยุกต์ใช้ )
Y  :  Yourself  ( การพึ่งพาตัวเอง )
O  :  Oneness  ( การเป็นเอกภาพ )
O  :  Organization  ( องค์การ )
N  :  Network   ( เครือข่าย )
G  :  Group   ( กลุ่ม )

          N  :  New   ( ใหม่ )
         การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการโดยนำหลักการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
          A  :  Application   ( การประยุกต์ใช้ )
          การนำรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมารประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้โรงเรียนขนาดเล็กแบบรวมชั้น
          Y  :  Yourself  ( การพึ่งพาตัวเอง )
          ความสามารถที่จะช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด โดยไม่เป็นภาระคนอื่นโดยการบริหารจัดการโดยใช้ศักยภาพสถานศึกษาของตนเองมากที่สุดโดยมีความสมดุลและความพอดีในการจัดการเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
          O  :  Oneness  ( การเป็นเอกภาพ )
          ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์กร ทั้งทางด้านการบริหาร  ทางวิชาการ  หรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียว เพื่อผลรวมอันไม่อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป โดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนรวมชั้นกับโรงเรียนหลักจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
          O  :  Organization  ( องค์การ )
          ศูนย์กลางของการทำกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่แตกต่างกันนั้นมารวมเข้าด้วยกัน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่างๆ ให้สามารถดำเนินงานตามหน้าที่ร่วมกันได้อย่างเป็นระเบียบโดยมีวัตถุประสงค์เดียวกัน
          N  :  Network   ( เครือข่าย )
          การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในทีมงาน และในชุมชนเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการเรียนการสอน มีความเป็นกัลยาณมิตร เกิดความรักสามัคคี สมานฉันท์ เป็นเครือข่ายและพันธมิตรทางความรู้ และความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง
          G  :  Group   ( กลุ่ม )
        คณะทำงานที่ดีคือการร่วมกันดำเนินงานอย่างเป็นองค์คณะ เป็นทีมงานแบบ
บวร หรือ บ้าน วัด โรงเรียน และชุมชนร่วมแรงร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเกิดเป็นองคาพยพในการขับเคลื่อนพัฒนาสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
        เพื่อให้เห็นภาพการนำ  “NAYOONG Model”  ไปใช้ในการบริหารงานในสถานศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน  จึงแปลงแนวคิดจาก  ประเด็นรูปแบบที่สรุปได้  เทียบกับ “NAYOONG Model”  ลงไปสู่การบริหารงาน  4  งาน  ประกอบด้วย  งานบริหารวิชาการ  งานบริหารบุคคล  งานบริหารการเงินและงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป  ซึ่งแต่ละงานมีรายละเอียดการนำ “NAYOONG Model”  สู่การเป็นรูปแบบศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้โรงเรียนขนาดเล็กแบบรวมชั้น มาปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน  ดังนี้ 

การแปลงแนวคิดจาก  ประเด็นรูปแบบที่สรุปได้  เทียบกับ “NON DRUG  Model”ลงสู่การบริหารจัดการโรงเรียน ดังนี้ 

งาน
ประเด็นรูปแบบที่สรุปได้
NON DRUG  Model
กลยุทธ์ในการบริหาร
การบริหารงานทั่วไป
1. สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา
G  :  Group   ( กลุ่ม )
A  :  Application     ( การประยุกต์ใช้ )


เป็นการบริหารจัดการที่ เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหา      วิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน
การบริหารงานวิชาการ
 สร้างเครือข่าย
การวางแผน
ปฏิบัติตามแผน
ตรวจสอบ
ปรับปรุงแก้ไข
N  :  Network  
( เครือข่าย )
O  :  Oneness  
( การเป็นเอกภาพ )
A  :  Application  
 ( การประยุกต์ใช้ )

สร้างเสริมบุคลากรทุกระดับให้เป็นมืออาชีพ มีทักษะในการปฏิบัติจน สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
การบริหารงานบุคคล
สร้างเครือข่าย
ระดมทรัพยากร
N  :  New   ( ใหม่ )
G  :  Group   ( กลุ่ม )
O  :  Oneness  
( การเป็นเอกภาพ )
O  :  Organization 
( องค์การ )

การปรับเปลี่ยนรูปแบบในการบริหารจัดการในสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งโรงเรียนหลักและโรงเรียนขนาดเล็กที่เรียนรวม
งานบริหารการเงินและงบประมาณ
 การวางแผน
ปฏิบัติตามแผน
 ตรวจสอบ
ปรับปรุงแก้ไข
N  :  New   ( ใหม่ )
O  :  Organization 
( องค์การ )
Y  :  Yourself
 ( การพึ่งพาตัวเอง )
N  :  Network  
( เครือข่าย )

ความสามารถที่จะช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด โดยไม่เป็นภาระคนอื่นโดยการบริหารจัดการโดยใช้ศักยภาพสถานศึกษาของตนเองมากที่สุดก่อนจะระดมสรรพกำลังสร้างภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ที่เข้มแข็งอันเกิดจากพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาสังคมในรูปแบบของผู้อุปถัมภ์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น